วัดพระมหามัยมุนี (The Mahamuni Buddha Temple)

    วัดพระมหามัยมุนี หรือ วัดยะไข่ (Rakhine Pagoda) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งและถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่าที่เปรียบได้กับพระแก้วมรกตที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยนั่นเอง ซึ่งเอกลักษณ์ของที่แห่งนี้คือพิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี ประกอบพิธีโดยเจ้าอาวาส ณ ช่วงเวลา 04:00 น. ของทุกวัน ตั้งอยู่เมืองมัณฑเลย์ ไปทางตอนใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร

ภาพจาก : https://www.khwarnyotravel.com/mahamuni-buddha-temple

    วัดแห่งนี้สร้างโดย พระเจ้าโบดอพญา หรือ พระเจ้าปดุง เมื่อพ.ศ 2328 เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเดียวกับวัดคือ พระมหามัยมุนี ตามตำนานเล่าว่า พระมหามัยมุนี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 689 โดยพระเจ้าจันสุริยะ ณ กรุงธัญญวดี เมืองหลวงของยะไข่ขณะนั้น ซึ่งฝันว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทานพรให้พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นตัวแทนของพระองค์ เพื่อสืบศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า ในอดีตแม้เมืองยะไข่จะถูกโจมตีจากกษัริย์เมืองอื่นที่ทรงแสนยานุภาพ แต่ก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายองค์พระมหามัยมุนีออกจากเมืองยะไข่ได้ ต้องมีเหตุให้ขัดข้องไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ทุกครั้ง
    จนกระทั่งรัชสมัยพระเจ้าโบดอพญา หรือ พระเจ้าปดุง ราชวงค์คองบองสามารถตียะไข่ได้และได้อัญเชิญพระมหามัยมุนีออกจากยะไข่ ในปีพ.ศ 2327 โดยล่องมาตามแม่น้ำอิระวดีมายังเมืองมัณฑเลย์ได้สำเร็จ พระมหามัยมุนีจึงได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์และได้สร้างวัดตามชื่อพระพุทธรูปคือ วัดพระมหามัยมุนี ในปีพ.ศ. 2328 นับตั้งนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพจาก : http://phukhamsaed.com/the-mahamuni-buddha-mandalay/

    วัดพระมหามัยมุนี เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของพม่า โดยพระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็น พระพุทธรูปที่มีชีวิต ด้วยเหตุที่ได้รับการประทานพรจากพระพุทธเจ้าที่ประทานลมหายใจไว้ให้ จึงมีพิธีล้างพระพักตร์ถวายด้วยน้ำอบน้ำหอมผสมทานาคา แปรงทองแปลงที่พระโอษฐ์ ใช้ผ้าจากศรัทธาที่นำมาถวายมาเช็ด พัดทองโบกถวายเสมือนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังทรงพระชีพอยู่

ภาพจาก : https://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/detail.php?tb_id=551&fbclid=IwAR24tz7H7C0aTscVGmgGPeK_GNge1DlTPzK4-sWNg5kRag17XGRQlym4qN0


    
ประติมากรรม
สิงค์ที่วัดพระมหามัยมุนี เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยเครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรม ซึ่งปรากฎเป็นลักษณะของศิลปะขอม เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ่อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม 

ภาพจาก : https://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/detail.php?tb_id=550&fbclid=IwAR1MXfpkPInyyxogi6MtofI4r1rDD-Qz4s5SXezG1lB6VsGFxGNzBoZac38

    ประติมากรรมช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี เป็นศิลปะบายนเช่นเดียวกัน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และที่เมืองพระนครได้เคยปรากฏประติมากรรมสำริดกลุ่มหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตัวคนเล็กน้อย มีทั้งประติมากรรมรูปช้างเอราวัณ รูปสิงห์และรูปบุคคล (ทวารบาล) ประติมากรรมเหล่านี้ถูกเจ้าสามพระยา กษัตริย์อยุธยาผู้ทำลายเมืองพระนครได้เชิญไปไว้ที่อยุธยา ต่อมาประติมากรรมสำริดนี้ก็ถูกขนไปที่หงสาวดีภายหลังที่อยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นแก่หงสาวดี และในที่สุดเมื่อเมืองหงสาวดีก็เสียให้กับยะไข่ จึงถูกขนไปที่ยะไข่และถวายให้กับพระมหามัยมุนี ประติมากรรมกลุ่มนี้ถูกขนย้ายอีกครั้งหนึ่งมาที่เมืองอมรปุระ เมื่อพระมหามัยมุนีถูกเคลื่อนย้ายมาที่อมรปุระด้วย

    วัดพระมหามัยมุนีแห่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ควรค่าแก่การไปเยือนแห่งหนึ่งในประเทศพม่า ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความงดงามและมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ล้วนเป็นสเน่ห์อีกอย่างหนึ่งของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ หากมีโอกาสไปเที่ยวที่ประเทศพม่าแล้วต้องไม่พลาดไปเยือนสถานที่แห่งนี้ วัดคู่บ้านคู่เมืองพม่า "วัดพระมหามัยมุนี"


อ้างอิง
        เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2558). สิงค์ที่วัดพระมหามัยมุนี. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563, จากเว็ปไซต์ : https://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/detail.php?tb_id=551&fbclid=IwAR24tz7H7C0aTscVGmgGPeK_GNge1DlTPzK4-sWNg5kRag17XGRQlym4qN0.
        เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2558). ช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563, จากเว็ปไซต์ : https://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/detail.php?tb_id=550&fbclid=IwAR1MXfpkPInyyxogi6MtofI4r1rDD-Qz4s5SXezG1lB6VsGFxGNzBoZac38.
        ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล. (2562). วัดพระมหามัยมุนี สถานที่ The must ของเมืองมัณฑเลย์ ที่มีตำนานว่าพระพุทธเจ้าประทานลมหายใจไว้ให้พระประธาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563, จากเว็ปไซต์ : https://readthecloud.co/mahamuni-buddha-temple-myanmar/?fbclid=IwAR0jW_fIsz_FXmoSk7WfxG_Bpeh0TxOiKGTcD0VnXICWPm9e484TGf3o8q4.
        Palanla. (2563). วัดพระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563, จากเว็บไซต์ : https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=149&fbclid=IwAR2u503w6vZq8XLd2KcZMUPFe98xpTzObX4-IYn5iXWB2MtZvtC2zRuR9j4.
       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปราสาทโพกลวงการาย (Po Klaung Garai)

การกำหนดอายุสมัยทางโบราณคดีจากวงปีไม้

Hi There!